์No Gift Policy

ามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดห้ามมิให้เจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้จากผู้ใด นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ
ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดและประมวลจริยธรรมข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2564 ข้อ 2(2) ซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยความโปร่งใสไม่แสดงออกถึงพฤติกรรมที่มีนัยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ รับผิดชอบต่อหน้าที่สิทธิมนุษยชน มีความพร้อมรับการตรวจสอบและรับผิดชอบมีจิตสำนึกที่ดี คำนึงถึงสังคมและข้อ2(4)คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวมีจิตสาธารณะ ร่วมมือ ร่วมใจ และเสียสละในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม ประกอบกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ฉบับปรับปรุง) กำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่สำคัญ กิจกรรมที่ 4 พัฒนาระบบราชการไทย ให้โปร่งใส ไร้ผลประโยชน์ เป้าหมายที่ 1 ข้อที่ 1.1 ให้หน่วยงานรัฐทุกหน่วยประกาศเป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่รัฐทุกคนไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interest)การรับสินบน ของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสถานีตำรวจภูธรตกพรมจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านการรับสินบน (Anti-Bribery Policy) และการไม่รับของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใด (No Gift Policy) จากการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อป้องกันหรือ ลดโอกาสในการรับสินบน ผลประโยชน์ทับซ้อนในรูปแบบต่าง ๆ แก่ข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม

1.2 เพื่อส่งเสริมให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม มีจิตสำนึก ในการปฏิเสธ การรับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่

1.3 เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรคุณธรรมและโปร่งใส (organization of integrity) ของระบบราชการ
ที่เข้มแข็งและยั่งยืน

1.4 เพื่อกำหนดมาตรการ แนวทางและกลไกในการป้องกันการให้/รับสินบนหรือประโยชน์อื่นใด

1.5เพื่อกำหนดแนวทางการรับค่ารับรองหรือของขวัญของผู้บริหารและข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรมให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

1.6 เพื่อสนับสนุนและยกระดับการดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบรวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ (ITA)

 

  1. ขอบเขตการ…

 

– 2 –

  1. ขอบเขตการบังคับใช้

ใช้บังคับกับข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม ทุกนาย

  1. คำนิยาม

“สินบน” หมายถึง ทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ให้แก่บุคคล เพื่อให้ผู้นั้นกระทำการหรือละเว้นไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ ไม่ว่าการนั้นชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมายตามที่ผู้จ่ายเงินสินบนต้องการ

“ของขวัญ ของกำนัล หรือประโยชน์อื่นใดที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่” หมายความว่า เงินทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใด ที่มีมูลค่าและให้รวมถึงทิป โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับนอกเหนือจากเงินเดือน รายได้ ผลประโยชน์จากราชการในกรณีปกติและมีผลต่อการตัดสินใจ การอนุมัติ การอนุญาต หรือการอื่นใด
ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้เป็นไปในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ไปในทางทุจริตต่อผู้ให้ของขวัญทั้งในอดีต หรือ
ในขณะรับหรือในอนาคต

“ทรัพย์สิน” หมายถึง ทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือครองเอาไว้ได้ เช่น
เงิน บ้าน รถยนต์ หุ้น

“การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา” หมายถึง การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากญาติหรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่าง ๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือ
ให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม

“ญาติ” หมายถึง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา คู่สมรส ผู้บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุตรบุญธรรม หรือผู้รับบุตรบุญธรรม

“ประโยชน์อื่นใด” หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคา การรับความบันเทิง การรับบริการ
การรับการฝึกอบรม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

“การปฏิบัติหน้าที่” หมายความว่า เป็นการกระทำหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง หรือให้รักษาราชการแทน ในหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งทั้งเป็นการทั่วไปและเป็นการเฉพาะในฐานะเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กฎหมายได้กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้หรือเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายระบุไว้ให้มีอำนาจหน้าที่ของตำรวจ

“ผู้บังคับบัญชา” หมายความว่า ผู้กำกับการสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม ที่มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งการ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัด

“ผู้ใต้บังคับบัญชา” หมายถึง ข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรมทุกนาย นอกเหนือจากผู้บังคับบัญชา

  1. แนวปฏิบัติในการป้องกันการรับสินบน

4.1 ห้ามมิให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการ
ให้หรือรับสินบนทุกรูปแบบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

4.2 ห้ามมิให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม เรียกร้อง หรือรับสินบน
เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ของบุคคลอื่น

4.3 ให้ถือปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม

4.4 การปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบวินัยตำรวจ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

 

5.5 ไม่กระทำ…

– 3 –

 

5.5 ไม่กระทำการใด ๆ ที่เข้าข่ายเป็นการให้หรือรับสินบน

5.6กำกับดูแลให้ดำเนินการการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานในสังกัดเป็นไปตามกฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

5.7 การรับเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นเงิน วัตถุหรือทรัพย์สิน แก่กิจกรรมหรือโครงการใด ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ อย่างเคร่งครัด และมีใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการรับเงินประกอบรายงานทุกครั้ง

5.8 การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยา ให้ข้าราชการตำรวจในสังกัดสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม ทุกนาย ให้ถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
เรื่อง หลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2543 อย่างเคร่งครัด

  1. มาตรการลงโทษ/การฝ่าฝืนแนวทางการปฏิบัติ

5.1 การฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ อาจถูกดำเนินการทางวินัย หรือดำเนินคดีอาญา หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่เพิกเฉยต่อการกระทำผิด หรือรับทราบว่ามีการกระทำผิด
แต่ไม่ดำเนินการจัดการให้ถูกต้อง ซึ่งมีบทลงโทษทางวินัย จนถึงขั้นให้ไล่ออกออกจากราชการ

5.2 การไม่ได้รับรู้ถึงประกาศ นโยบายฉบับนี้และ/หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้าง
ในการไม่ปฏิบัติตามได้

5.3 ผู้บังคับบัญชาตามคำสั่งกรมตำรวจที่ 1212/2537 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2537 มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับ ดูแล ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ในปกครองให้ยึดถือและปฏิบัติตามนโยบายนี้อย่างเคร่งครัด

  1. มาตราการติดตามตรวจสอบ

6.1 ผู้กำกับการสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม ประกาศเจตจำนงในการบริหารหน่วยงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการตำรวจในสังกัด และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกทราบ

6.2 ให้ผู้บังคับบัญชาตามคำสั่งกรมตำรวจ ที่ 1212/2537 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2537 มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ในปกครองในสังกัด ให้ปฏิบัติตนเป็นไปตามประกาศฉบับนี้ กรณีพบการกระทำที่ฝ่าฝืนประกาศฉบับนี้ ให้รายงานผู้กำกับการสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรมทราบโดยเร็ว

6.3 สถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม จะจัดให้มีการตรวจสอบ ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัตินี้เป็นประจำทุกปี และจัดให้มีการการทบทวนและปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติตามความเหมาะสม หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งหรือตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีนัยสำคัญ

6.4 ให้ฝ่ายอำนวยการสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม จัดทำข้อมูลสถิติการรับของขวัญหรือประโยชน์อื่นใด พร้อมทั้งปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข และรายงานให้ผู้กำกับการสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรมทราบทุกไตรมาส

  1. ช่องทางการร้องเรียน/แจ้งเบาะแส

7.1 ศูนย์รับแจ้งเบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ สถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม

7.2ทางไปรษณีย์โดยทำหนังสือร้องเรียนถึงสถานีตำรวจตำรวจภูธรตกพรม
7.3ทางโทรศัพท์มายเลข๐๓๙ 492 442

7.4ทางE-mail: sarabantokprom@police.

7.5ทางเว็บไซต์สถานีตำรวจhttps://tokphrom.chanthaburi.police.go.th/01

7.6ทางFacebookเพจสถานีตำรวจภูธรตกพรม

  1. มาตรการ…

 

– 4 –

  1. มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส การรักษาความลับ

8.1 มาตรการคุ้มครองผู้ร้องและพยาน

8.1.1 การพิจารณาข้อร้องเรียน ให้กำหนดชั้นความลับและคุ้มครองผู้เกี่ยวข้องตามระเบียบว่าด้วย
การรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และการส่งเรื่องให้หน่วยงานพิจารณานั้น ผู้ให้ข้อมูล และ
ผู้ร้องอาจจะได้รับความเดือดร้อน เช่น ข้อร้องเรียนกล่าวโทษข้าราชการในเบื้องต้น ให้ถือว่า เป็นความลับ
ทางราชการ หากเป็นบัตรสนเท่ห์ ให้พิจารณาเฉพาะรายที่ระบุหลักฐาน กรณีแวดล้อมปรากฏชัดแจ้ง ตลอดจนชี้พยานบุคคลแน่นอนเท่านั้น

การแจ้งเบาะแสผู้มีอิทธิพล ต้องปกปิดชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง หากไม่ปกปิดชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องจะต้องแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและให้ความคุ้มครองแก่ผู้ร้อง ดังนี้ “ให้ผู้บังคับบัญชาใช้ดุลยพินิจ
สั่งการตามสมควร เพื่อคุ้มครองผู้ร้อง พยาน และบุคคลที่ให้ข้อมูล ในการสืบสวนสอบสวน อย่าให้ต้องรับภัยหรือความไม่เป็นธรรม ที่อาจเกิดมาจากการร้องเรียน การเป็นพยานหรือการให้ข้อมูลนั้น” กรณีมีการระบุชื่อ
ผู้ถูกกล่าวหา จะต้องคุ้มครองทั้งฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เนื่องจากเรื่องยังไม่ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงและอาจเป็นการกลั่นแกล้ง กล่าวหาให้ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายได้ และกรณีผู้ร้องเรียนระบุในคำร้องขอ ให้ปกปิดหรือไม่ประสงค์ให้เปิดเผยชื่อผู้ร้องเรียน หน่วยงานต้องไม่เปิดเผยชื่อผู้ร้องให้หน่วยงาน
ผู้ถูกร้องทราบ เนื่องจากผู้ร้องอาจจะได้รับความเดือดร้อนตามเหตุแห่งการร้องเรียนนั้น ๆ

8.1.2 เมื่อมีการร้องเรียน ผู้ร้องและพยานจะไม่ถูกดำเนินการใด ๆ ที่กระทบต่อหน้าที่การงาน หรือ
การดำรงชีวิต อาจจำเป็นต้องมีการดำเนินการใด ๆ เช่น การแยกสถานที่ทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ร้องพยานและผู้ถูกกล่าวหาพบปะกัน เป็นต้น ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องและพยาน

8.1.3 ข้อร้องขอของผู้เสียหาย ผู้ร้อง หรือพยาน เช่น การขอย้ายสถานที่ทำงาน หรือวิธีการในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา ควรได้รับการพิจารณาจากบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตามความเหมาะสม

8.1.4 ให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียนไม่ให้ถูกกลั่นแกล้ง

   8.2 มาตรการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหา

8.2.1 ในระหว่างการพิจารณาข้อร้องเรียนยังไม่ถือว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิด ต้องให้ความเป็นธรรม
และให้ได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับบุคคลอื่น

8.2.2 ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาในการชี้แจงข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่ รวมทั้งสิทธิในการแสดงเอกสาร
/พยานหลักฐาน